สร้างความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าให้สินค้าด้วยบรรจุภัณฑ์
*วันนี้พงศ์พัฒน์การพิมพ์ ได้นำเสนอการสร้างความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าให้สินค้าด้วยบรรจุภัณฑ์ ด้วยการดีไซน์และการพิมพ์กันคะ* จาก IDG
มาดูกันเถอะคะ ว่า กล่องขนมเค้ก, กล่องอาหาร, กล่องเครื่องสำอางค์, กล่องฟู๊ดเกรด และ บรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่แท้จริงแล้ว ควรเป็นอย่างไรกันแน่!
http://www.idgthailand.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C/
รอบตัวเราล้วนเต็มไปด้วยบรรจุภัณฑ์ ไม่ว่าเราเดินห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ
ร้านโชว์ห่วย หรือกระทั่งในบ้านของเราเองเราก็จะพบบรรจุภัณฑ์เต็มไปหมด
บรรจุภัณฑ์เหล่านี้มาในหลายรูปร่างหลายขนาด ตั้งแต่ลังสี่เหลี่ยมธรรมดาๆ
ของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไปจนถึงขวดเครื่องสำอางไฮโซที่มีรูปทรงซับซ้อน
เราเห็นพวกมันเหล่านี้จนชินตา
แต่เคยรู้หรือไม่ว่ากว่าที่จะออกมาเป็นบรรจุภัณฑ์ให้เราได้ใช้กันนั้นผู้
ออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้ผ่านกระบวนการออกแบบและกระบวนการคิดอะไรมาบ้างกว่าจะได้
ออกมาเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ “ดี” สักชิ้นหนึ่ง
ปัญหาสำคัญของบรรจุภัณฑ์คือบรรจุภัณฑ์หลายชนิดมีคุณภาพต่ำและถูกออกแบบมา
อย่างผิดๆ
ไม่ว่าจะโดยนักออกแบบมือสมัครเล่นที่ไม่มีความรู้และประสบการณ์หรือนัก
ออกแบบฟรีแลนซ์บางคนที่สักแต่ว่าออกแบบไปวันๆ เพื่อหาเงินประทังชีพ
บางรายอาการหนักถึงขนาดเข้าใจผิดว่าการออกแบบบรรจุภัณฑ์คือการทำกราฟิก
ลวดลายเพื่อแปะบนกล่องหรือขวดเท่านั้น
ทำให้มีบรรจุภัณฑ์ประเภทที่ว่านี้ออกสู่ท้องตลาดเต็มไปหมด
เช่นพวกครีมทาหน้ากวนเองที่มีฉลากดูไม่มีคุณภาพแปะอยู่
หรืออาหารเสริมที่บรรจุในขวดหรือกล่องที่ดูไม่ได้มาตรฐาน
หรือกระทั่งสินค้าบางชนิดในห้างสรรพสินค้าชั้นนำก็ตาม
เราในฐานะผู้บริโภคก็ถูกบังคับให้ต้องใช้ชีวิตอยู่กับบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นจน
ชาชินโดยไม่รู้ตัวและแทบไม่มีทางเลือก
เป็นการบั่นทอนคุณภาพชีวิตอย่างที่เราคาดไม่ถึงและเรามักจะมองข้ามไปเสมอ
- หน้าที่สำคัญที่สุดของบรรจุภัณฑ์ก็คือการปกป้องสินค้าให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์
ตั้งแต่พ้นจากอ้อมอกของผู้ผลิตจนมาถึงมือผู้บริโภคอย่างเราๆ
นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ดีจะต้องคำนึงถึงจุดนี้เป็นส่วนสำคัญที่สุด
หากบรรจุภัณฑ์ไม่สามารถปกป้องสินค้าภายในให้อยู่ในสภาพดีได้
นั่นก็ไม่ใช่บรรจุภัณฑ์ที่ดี
และถือเป็นการออกแบบที่ล้มเหลวเพราะบรรจุภัณฑ์ไม่สามารถทำหน้าที่โดยกำเนิด
ของมันได้ เรียกได้ว่าเป็นบรรจุภัณฑ์พิการ แต่เมื่อเราลองมองดูรอบๆ
ตัวเรากลับพบว่ามีบรรจุภัณฑ์ลักษณะนี้อยู่เต็มไปหมด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราจะเห็นได้ชัดเจนจากผลิตภัณฑ์ที่แตกหักเสียหายได้ง่าย
เช่นอาหารประเภทขนมกรุบกรอบ
ซึ่งส่วนใหญ่ขนมด้านในมักจะแตกหักก่อนที่เราจะได้กัดมันให้แตกด้วยปากเพื่อ
ลิ้มรสอันโอชะของมัน
หรือกระทั่งบรรจุภัณฑ์ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ราคาถูกบางชนิด
เมื่อแกะออกมามักจะพบว่าสินค้าข้างในได้รับความเสียหายหรือเป็นรอยบุบ
เป็นต้น
- ปัญหา
เหล่านี้เกิดจาก “ผู้ผลิต” สินค้าชนิดนั้นๆ
ต้องการลดต้นทุนในการผลิตให้ต่ำที่สุด
เพื่อจะได้มีกำไรจากการขายให้มากที่สุด
จึงบีบให้นักออกแบบบรรจุภัณฑ์แทบจนตรอกด้วยงบประมาณในการออกแบบและพัฒนา
บรรจุภัณฑ์อันแสนจำกัด
และยังมีการกำหนดต้นทุนต่อชิ้นของบรรจุภัณฑ์ไว้ต่ำเตี้ยเรี่ยดิน
ทำให้นักออกแบบแทบไม่มีทางออกในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพเลย
บางครั้งย่ำแย่ขนาดต้องหยิบเอาบรรจุภัณฑ์ของสินค้าหนึ่งมาใส่สินค้าอีกชนิด
หนึ่ง ผลลัพธ์จึงออกมาเป็นบรรจุภัณฑ์คุณภาพต่ำอย่างที่เราเห็นกัน
เช่นคุกกี้บางยี่ห้อที่ใช้ซองพลาสติกธรรมดามาหุ้มไว้
เมื่อแกะออกมาทีไรก็พบแต่ชิ้นที่แตกก่อนจะได้รับประทานทุกที
นอกจากผู้ผลิตบางรายจะมองข้ามความสำคัญของบรรจุภัณฑ์ไปแล้ว
ยังกลับไปทุ่มงบประมาณมหาศาลไปกับการทำการตลาดให้แก่ผลิตภัณฑ์ของตัวเอง
เช่นจ้างนางแบบค่าตัวแพงลิบมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ สามารถซื้อสื่อ
ซื้อพื้นที่ในการประกาศโฆษณาให้โลกรับรู้ว่าสินค้านี้มีตัวตนอยู่
มีดีอย่างโน้นอย่างนี้ได้โดยไม่ต้องรอให้ผู้บริโภคพิสูจน์ถึงคุณภาพสินค้า
และบอกต่อ ถ้ามีทุนหนาแบบนั้นก็ไม่เป็นไร
แต่หากเป็นผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่มีเงินถุงเงินถังให้ใช้แบบนั้นล่ะจะทำ
อย่างไรจึงจะสามารถมีจุดยืนในตลาดร่วมกับกับบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านั้นได้
การสร้างความแตกต่างคือคำตอบ
เพราะเมื่อใดก็ตามที่สินค้าสองยี่ห้อมีราคาใกล้เคียงกัน มีคุณภาพไม่ต่างกัน
หรือบางทีเป็นสินค้าจากโรงงานเดียวกันแต่แปะป้ายคนละยี่ห้อ
ผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อสินค้าโดยเลือกที่ดีไซน์ของบรรจุภัณฑ์เป็นหลัก
บรรจุภัณฑ์ที่มีดีไซน์แปลกใหม่กว่า มีประโยชน์ใช้สอยมากกว่า
เปิดปิดสะดวกกว่า สวยงามกว่า แลดูมีคุณภาพมากกว่าก็จะสื่อเป็นนัยๆ
ถึงคุณภาพของสินค้าภาพในว่าดีกว่าของคู่แข่ง บริษัทผู้ผลิตเชื่อถือได้
ซึ่งอาจจะเป็นหรือไม่เป็นความจริงก็ได้
แต่การที่ผู้บริโภคมีทัศนคติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของเราไปในทางที่ดีกว่าของ
คู่แข่งก็ย่อมเป็นการเพิ่มมูลค่าและภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ให้มากยิ่งขึ้น
และยิ่งถ้าสินค้าภายในมีคุณภาพด้วยแล้วก็จะเกิดการบอกต่อๆ
กันไปจากปากของผู้บริโภค
ทำให้เราไม่ต้องทุ่มงบประมาณมหาศาลไปกับการทำการตลาด
แต่เอางบประมาณเหล่านั้นมาพัฒนาบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพยิ่งๆ
ขึ้นไปจะดีกว่า
- หาก
พูดถึง “บรรจุภัณฑ์” หลายคนก็คงจะนึกถึง “กล่อง” “ขวด” หรือ “ถุง”
ใช่ไหมครับ บรรจุภัณฑ์ที่เราเห็นตามท้องตลาดส่วนใหญ่ก็มีลักษณะเป็นกล่อง
ขวด หรือถุง ทำหน้าที่ปกป้องสินค้าที่อยู่ภายใน แต่จริงๆ
แล้วบรรจุภัณฑ์ไม่จำเป็นต้องเป็นกล่อง ขวด หรือถุงก็ได้ จริงๆ
แล้วบรรจุภัณฑ์จะมีรูปร่างเป็นอะไรก็ได้ ทำจากวัสดุอะไรก็ได้
ขอให้สามารถทำหน้าที่ปกป้องผลิตภัณฑ์ภายในได้
ส่วนเรื่องความสวยงามนั้นเป็นเรื่องรองลงมา
คนส่วนใหญ่ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องนี้ มองแต่ความสวยงามเป็นหลัก
และคิดว่าการออกแบบบรรจุภัณฑ์คือการออกแบบ “ลายบนกล่อง”
ทำให้มีบริษัทหน้าใหม่หรือนักออกแบบมือสมัครเล่นเกิดขึ้นจำนวนมากเพราะมอง
ว่างานนี้เป็นเรื่องง่าย ทำได้เร็ว รายได้ดี ใครๆ ก็ทำได้
ดังจะเห็นได้จากประกาศในเว็บไซต์หลายแห่งที่เขียนไว้อย่างหรูหราว่า
“รับออกแบบบรรจุภัณฑ์” แต่กลับกลายเป็นการออกแบบลายบนกล่องไปเสียดื้อๆ
บางที่ถึงขนาดรับทำเป็นแพ็คเกจ ออกแบบ 5 กล่องรับฟรี 1 กล่อง
ผู้ว่าจ้างส่วนใหญ่ขาดความรู้และความตระหนักก็หลงไปกับอุบายนี้และเห็นแก่
ราคาค่าออกแบบที่แสนถูก บางครั้งหลักพันบาทต้นๆ
จึงได้รับผลงานที่เป็นลายบนกล่องลายใหม่ แต่บรรจุภัณฑ์เป็นกล่องแบบเดิม
ซึ่งแทบจะไม่ได้สร้างความแตกต่างหรือจุดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์เลย
ถือเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า เสียทั้งเวลาและเงิน
นอกจากนี้
ทัศนคติของคนส่วนใหญ่ที่กำลังคิดจะหาผู้ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้กับสินค้าของตัว
เองนั้นมักจะมองว่าการออกแบบบรรจุภัณฑ์เป็นเพียงเรื่องง่ายๆ แค่ทำกล่อง ขวด
หรือถุงขึ้นมาแล้วทำลวดลายมาแปะ ดูแล้วไม่เห็นจะยากตรงไหน
ทำไมพวกนักออกแบบถึงคิดราคาแพงกันนัก บางที่คิดหลักหมื่น
บางที่ก็เลยเถิดไปจนถึงหลักแสน แบบนี้มันโก่งราคากันชัดๆ
ไปหาเอาตามเว็บไซต์ดีกว่า มีรับทำเยอะแยะ ราคาไม่กี่ร้อยก็มี ใช่ครับ
แล้วก็มักจะไปเจอเว็บไซต์อย่างที่ได้กล่าวไปเมื่อครู่นี้และลงเอยด้วยการได้
กล่อง ขวด หรือถุงแบบเดิมที่มีลวดลายใหม่ออกมา
- กระบวนการ
ออกแบบบรรจุภัณฑ์ซับซ้อนกว่านั้นมาก
จะต้องมีการทำวิจัยเพื่อศึกษาข้อดีข้อเสียที่ของทั้งบรรจุภัณฑ์เดิมของคู่
แข่งและบรรจุภัณฑ์ใกล้เคียงที่มี ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการผลิต วัสดุที่ใช้
วิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
มีการใช้หลักสรีระศาสตร์เข้ามาประกอบการออกแบบ
รวมไปถึงหลักจิตวิทยาในการออกแบบ การใช้สี และการจัดองค์ประกอบศิลป์
นอกจากนี้ยังต้องมีการทำแบบร่างบรรจุภัณฑ์ (idea sketch)
และพัฒนาแบบร่างให้ออกมาเป็นบรรจุภัณฑ์ต้นแบบที่สามารถใช้งานได้จริง
เพื่อหาข้อบกพร่องและข้อดีข้อเสียจากการใช้งานจริงก่อนจะนำเข้าสู่กระบวนการ
ผลิตและนำออกสู่ตลาด
ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้ออกมาเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ดีชิ้นหนึ่ง
ด้วยเหตุนี้ค่าแรงในการออกแบบบรรจุภัณฑ์จึงมีราคาหลักหมื่นไปจนถึงหลักแสน
เพราะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในหลายๆ ด้านที่กล่าวมา
หลายท่านอาจจะเคยเห็นหรือเคยทราบมาแล้วว่าในต่างประเทศที่มีนักออกแบบ
บรรจุภัณฑ์เก่งๆ โดยเฉพาะญี่ปุ่นนั้น
จะมีบรรจุภัณฑ์ที่โดดเด่นและแปลกใหม่ออกสู่ตลาดตลอดเวลา
ทำให้ชีวิตของคนญี่ปุ่นมีความสะดวกสบายและมีตัวเลือกให้แก่ผู้บริโภคเป็น
จำนวนมาก
ทั้งนี้ก็เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดและเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้านั้นๆ
นั่นเอง
ธุรกิจด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในญี่ปุ่นจึงเป็นธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาลและ
ทำรายได้มากพอๆ กับธุรกิจการผลิตเลยทีเดียว
- สำหรับวงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ อาทิเช่น กล่องขนม, กล่องเค้ก, กล่องเครื่องสำอางค์, กล่องอาหาร และกล่องฟู๊ดเกรดต่างๆ ของไทยนั้นนับว่ายังเป็นเด็กน้อยผู้อ่อน
ประสบการณ์มากเมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศโดยเฉพาะญี่ปุ่น
เรามีนักออกแบบเก่งๆ และบริษัทที่ออกแบบบรรจุภัณฑ์ดีๆ อยู่น้อย
และอาจตามหลังต่างประเทศอยู่หลายสิบปี
ดังนั้นเหล่านักออกแบบบรรจุภัณฑ์และผู้ประกอบการไทยทั้งรายใหญ่และรายย่อย
ควรหันมาให้ความใส่ใจกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีคุณภาพมากขึ้น
ทำให้ชีวิตของผู้บริโภคสะดวกสบายขึ้น สวยงามขึ้น แปลกใหม่ขึ้น
จะเป็นการสร้างมูลค่าให้แก่ตัวผลิตภัณฑ์และตัวบริษัท
และยังเป็นการผลักดันแวดวงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของไทยให้ก้าวไปข้างหน้า
ทัดเทียมกับอารยประเทศ
ที่มาจาก:
http://www.idgthailand.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%...