การพิมพ์ธนบัตร
ประกอบด้วยการพิมพ์ภาพและลวดลายต่าง ๆ ด้วยกรรมวิธีการพิมพ์
๒ แบบ คือ การพิมพ์ออฟเซตแห้ง (Dry offset) หรือเรียกตามลักษณะลวดลายว่า
การพิมพ์สีพื้น และการพิมพ์อินทาลโย (Intaglio)
หรือเรียกตามลักษณะลวดลายที่ได้จากการพิมพ์ว่า การพิมพ์เส้นนูน นอกจากนี้
ยังมีการพิมพ์อีกขั้นตอนหนึ่งก่อนการผลิตเป็นธนบัตรสำเร็จรูป คือ
การพิมพ์เลขหมายและลายเซ็น ซึ่งใช้การพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ (Letterpress)
การพิมพ์สีพื้น
เป็น
งานขั้นตอนแรกของการพิมพ์ธนบัตร
โดยใช้เครื่องพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ภาพได้ทั้งสองด้านในเวลาเดียวกัน
ทำให้บางส่วนของลวดลายที่ตั้งใจออกแบบไว้ในตำแหน่งตรงกันทั้งด้านหน้าและ
ด้านหลังของธนบัตรซ้อนทับกันสนิท หรือประกอบขึ้นเป็นลวดลายที่สมบูรณ์
ซึ่งเป็นลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงอย่างหนึ่ง
การพิมพ์เส้นนูน
เป็นการพิมพ์ภาพและลวดลายต่าง ๆ
ด้วยเครื่องพิมพ์แบบพิเศษที่ใช้แรงกดพิมพ์สูงและหมึกพิมพ์ซึ่งมีความเหนียว
หนืดสูง เพื่อทำให้หมึกพิมพ์กองนูนบนผิวกระดาษ
ทำให้ได้รายละเอียดและความอิ่มตัวสีสูง
เหมาะกับการพิมพ์ภาพประธานและส่วนที่ต้องการเน้นให้เด่นและคมชัด เช่น
พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ และตัวเลขแจ้งราคาด้านหน้าธนบัตร เป็นต้น
ซึ่งหากใช้ปลายนิ้วมือลูบสัมผัสผ่านเบา ๆ จะรู้สึกได้ถึงความนูนนั้น
นับเป็นลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงที่สำคัญยิ่งในการผลิตธนบัตรและสิ่งพิมพ์มี
ค่าอื่น
การพิมพ์เลขหมายและลายเซ็น
แผ่น
พิมพ์ที่พิมพ์ภาพและลวดลายสีพื้นและเส้นนูนแล้ว
จะผ่านการตรวจสอบคุณภาพอย่างละเอียด
เพื่อคัดแยกธนบัตรที่มีข้อบกพร่องออกไปทำลาย
ส่วนธนบัตรที่มีคุณภาพตามมาตรฐานจะส่งไปพิมพ์เลขหมายและลายเซ็นต่อไป
การพิมพ์เลขหมายและลายเซ็นใช้การพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์เพื่อควบคุมจำนวนธนบัตร
ออกใช้
โดยเครื่องพิมพ์จะมีระบบควบคุมและตรวจสอบการเปลี่ยนเลขหมายในแต่ละรอบการ
พิมพ์ ดังนั้น
เลขหมายที่กำกับบนธนบัตรแต่ละฉบับที่เป็นแบบและชนิดราคาเดียวกันจะไม่ซ้ำกัน
เป็นอันขาด
สำหรับลายเซ็นบนธนบัตรทุกฉบับจะเป็นลายเซ็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในสมัยนั้น ๆ
ที่มา
http://www.bot.or.th/Thai/Banknotes/production_and_security/Pages/Banknot_Printing.aspx